ยินดีต้อนรับเข้าสู่ห้องเรียนครูเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ.บ.ต.คูบัว

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เก็บตกภาพรวมกิจกรรม





สื่อวัสดุ


สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งที่ช่วยสอนที่มีการผุพัง สิ้นเปลือง เช่น ฟิล์ม ภาพถ่ายภาพยนตร์ สไลด์ และสิ่งของ ราคาสิ่งของหรือสสารที่ถูกนำมาใช้งานจะมีคุณสมบัติต่างๆ กันบางอย่างก็แข็งแรง บางอย่างก็ยืดหยุ่นดี บางอย่างแข็งเปราะ บางอย่างมีความทนทานสูง แต่บางอย่างฉีกแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า “สื่อการสอนประเภทวัสดุ” หรือ “สื่อวัสดุ” ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรจุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อประเภทของวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่
1. สื่อวัสดุกราฟิก มีลักษณะเป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างแบบแบน บาง ไม่มีความหนา มีองค์ประกอบสำคัญคือ รูปภาพ ตัวหนังสือ
2. สื่อวัสดุ 3 มิติ เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงได้ด้วยตัวเองที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนเช่น หุ่นจำลอง
3. สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์

ประเภทของวัสดุกราฟิก แบ่งได้ดังนี้
แผนภูมิ (charts) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร
1. แผนภูมิต้นไม้
2. แผนภูมิแบบสายธาร
3. แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
4. แผนภูมิแบบองค์การแผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข
1. ชนิดของแผนสถิติ เปรียบเทียบหรือปริมาณของข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะนำเสนอในรูปแบบของแผนสถิติแบบใดก็ได้
- แผนสถิติแบบเส้น ข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
- แผนสถิติแบบแท่ง ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบ เคียงกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นชุด
- แผนสถิติแบบวงกลม ใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆ ว่าเป็นเท่าไร
- แผนสถิติแบบรูปภาพ เป็นกสื่อวัสดุ 3 มิติ หมายถึงสื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว ความหนาลึก
ประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ
1. หุ่นจำลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงมีข้อจำกัดไม่สามารถนำมาแสดงได้
2. ของจริง (real objects) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆ ที่มีภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทรับสัมผัสทั้ง 5
3. ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดีมีเนื้อหาแนวคิดและตรงวัตถุประสงค์ มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว
4 .ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดี


สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
1. ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสาร ตำรา ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์
2. ประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
2.1 เทปบันทึกเสียง ใช้บันทึกเสียงในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
2.2 เทปวิดีทัศน์ ใช้บันทึกภาพและเสียง
2.3 แผ่นซีดี
2.4 แผ่นวีซีดี
2.5 แผ่นดีวีดี
2.6 แผ่นเอสวีซีดี
2.7 แผ่นเอ็กซ์วีซีดี
2.8 แผ่นเอ็กเอสวีซีดี
ารแปลงข้อมูลเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์
- แผนสถิติแบบพื้นที่ ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ ทุกส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเท่ากับปริมาณรวมทั้งหมด
แผนภาพ แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน
1. ภาพพลิก
2. ภาพชุด
3. แผนภาพ

5. แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
6. แผนภูมิแบบตาราง
7. แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
8. แผนภูมิแบบอธิบายภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัย

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ การให้เด็กเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีครูและผู้ปกครองอยู่ด้วยเพื่อให้คำชี้แนะที่เหมาะสม ซอร์ฟแวร์ที่นำมาใช้จะต้องเป็นเรื่องของการศึกษา จึงจะพัฒนาเด็กได้จริงตามจุดประสงค์ของการเรียน สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่เน้นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูลข่าวสาร เป็นเหตุให้โรงเรียนต่างๆเริ่มให้มีการใช้คอมพิวเตอร์และมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่ใช้กับเด็กได้ทุกวัย มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่างๆทั้งเพื่อเป็นการฝึกทักษะให้กับเด็ก เช่น การสร้างสัมพันธภาพการเรียนรู้ทางพุทธิปัญญา การคิดเลข และใช้เพื่อการฝึกความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยในการใช้สายตา และมือให้สัมพันธ์กันเมื่อเด็กใช้แล้วเด็กยังได้พัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ด้วย จุดประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็กปฐมวัยมุ่งฝึกเด็กให้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาความคิดและทักษะต่างๆมากกว่าการหัดให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์แบบผู้ใหญ่
การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน
ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนเป็นเวลานานพอสมควร ในยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์กับเด็กนั้นยังไม่เป็นที่นิยมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ยังเป็นการแสดงออกเฉพาะที่เป็นตัวหนังสือ บางโปรแกรมอาจมีภาพกราฟฟิค ประกอบบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่น่าสนใจแม้ในต่างประเทศก็ไม่นิยมต่อมาเมื่อฮารดแวร์และซอฟแวร์พัฒนามากขึ้น จึงเป็นที่นิยมโดยแพร่หลาย คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัยจะมีซอฟแวร์ที่เรียกว่า Edutainment มาจากคำว่า Education (การศึกษา) บวกกับคำว่า Entertainment (ความบันเทิง) ซอฟแวร์แบบนี้เมื่อเวลาเด็กใช้เรียน เด็กจะได้ทั้งการเรียนรู้กับความบันเทิง ทั้งนี้โดยจุดประสงค์หลักของการผลิตซอฟแวร์สำหรับเด็ก จะไม่เน้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาอย่างเดียวแต่ต้องสนุกกับการเรียนนั้น ด้วยลักษณะของซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสม (Multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายๆแบบประกอบกันมีทั้งข้อความ (text) ภาพนิ่ง ภาพที่เคลื่อนไหวได้ มีเสียง ในการใช้ซอฟแวร์ที่เป็นสื่อผสมนี้จะต้องมีคอมพิวเตอร์ที่เป็นสื่อผสมด้วย กล่าวคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีซีดีรอมไดรฟ์ (C D Rom drive) และในเครื่องต้องมีที่เล่นเสียงเล่นภาพด้วยนอกจากนี้ต้องมีซอฟแวร์โดยทั่วไป Edutainment จะบรรจุอยู่ในแผ่นซีดี หรือ คอมแพคดิส(Compactdisc) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศที่ผลิตขายโดยมีเรื่องหลากหลายที่เราสามารถเลือกได้ แต่ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายบริษัท ได้จัดทำเป็น อินเตอร์เน็ต (internet) ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้โดยไม่ต้องใช้ดิสค์อย่างที่เราใช้กันอยู่
การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เดิมมาจากการพัฒนาในรูปข้อความมาขยายสู่การมีภาพ มีเสียง เช่น โทรทัศน์ ความแตกต่างของโทรทัศน์ กับ สื่อผสมต่างกันตรงที่การเรียนจากโทรทัศน์เป็นการเรียนแบบรับ (Passive) ขณะที่เรียนจากสื่อผสมคอมพิวเตอร์เป็นการเรียนแบบตอบโต้ (active) ที่เด็กสามารถมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ในขณะเรียน ซึ่งการเรียนกับโทรทัศน์เด็กจะเป็นฝ่ายรับอย่างเดียวไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ดังนั้นการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์(interactive learning)มีความสำคัญมาก เด็กจะเรียนรู้ได้สนุกกว่าโทรทัศน์ และเด็กสามารถควบคุมการเรียนรู้ในขณะที่เรียนได้ด้วย ซึ่งเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการอยากรู้อยากเห็น อีกประการหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนคือ บทเรียนที่กำหนดมีความยากง่ายเหมาะกับเด็กที่จะเรียน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เด็กยากเรียน และกระตือรือร้นที่จะเรียนเพราะเด็กสามารถเรียนรู้เพิ่มขึ้น และเด็กสามารถเลือกเรียนด้วยตนเองตามความสนใจ ด้วยลักษณะนี้ทำให้การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งท้าทายสำหรับเด็ก องค์ประกอบที่สอดแทรกมาในคอมพิวเตอร์คือการสร้างจินตนาการในเด็ก ด้วยภาพจากคอมพิวเตอร์มีการเคลื่อนไหว เด็กจะรับรู้และตอบสนองได้ดีกว่าภาพนิ่ง อย่างไรก็ตามซอฟแวร์ทางการศึกษาที่ดีต้องสนุกสนานในขณะเดียวกันต้อง เด็กปฐมวัยต้องการความสนุกสนานในขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างเสริมปัญญาให้กับเด็กด้วย มีหลายบริษัทที่จัดทำซอฟแวร์ทางการศึกษา สำหรับเด็กที่สามารถศึกษาได้ในลักษณะดังกล่าว